Facebook

Chaowdee School | Contacts

สถานที่ตั้ง
833 ซอย กรุงธนบุรี 6 - เจริญนคร 28
เขต คลองสาน กรุงเทพฯ 10600

วันและเวลาทำการ
วันจันทร์ - วันศุกร์ ( ยกเว้นวันหยุดราชการ )
เวลา 8:00น. - 15:00น.
สามารถนัดวันเสาร์ได้โดยติดต่อนัดหมายล่วงหน้า

เบอร์โทรติดต่อ: 02-437-6270, 02-860-9357
Fax: 02-437-6270, 02-860-9357
E-mail: chaowdeeschool@gmail.com

guest

น.ส. อาภา บ้านไกรทอง (นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยศิลปากร )

เข้ามาสดุดตามากเลย โรงเรียนแม้ว่าจะเล็กแต่ก็ดูอบอุ่น สังเกตทีมงานขยันขันแข็งดีมาก จัดบรรยากาศรอบๆ โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็กได้เป็นอย่างดี ขอบอกว่า ดีใจกับ พ่อแม่ที่นำเด็กมาเข้าที่นี่ เด็กได้พัฒนาศักยภาพเต็มที่

By |November 15th, 2011|guest|0 Comments

ดร. สุชาติ ตันธนะเดชา ( ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายเครือข่ายการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย )

ขอขอบคุณที่ได้สาธิตโปรแกรมช่วยสอน ( CAI ) กับเด็กระดับอนุบาล และยังอธิบายแนวคิด เบื้องหลังการ ทำโปรแกรมตลอดจนการพัฒนาแก้ไขจนเป็นโปรแกรมที่มีคุณภาพ เด็กๆเรียน ได้ดีมีความรู้เสริมสร้างสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ ขอชื่นชมกับ อ.วินัย ที่ได้ใช้ความรู้วิชา ครูจากครุจุฬาฯ และความมุ่งมั่นพัฒนาโปรแกรมที่ทันสมัยมีประโยชน์มาก

By |November 15th, 2011|guest|0 Comments

อาจารย์วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา( มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ )

ขอบคุณโรงเรียนอนุบาลเชาวน์ดี ที่ให้การต้อนรับคณะนักศึกษา จำนวน 38 คน เข้าชมศูนย์ พัฒนาความพร้อมคอมพิวเตอร์เด็กเล็กที่ให้ความรู้ ความประทับใจ ในความมุ่งมั่นของ ผู้บริหารอย่างแท้จริง โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอย่างได้ผลสำเร็จและน่าภาคภูมิใจ

By |November 15th, 2011|guest|0 Comments

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทินกร บัวพูล ( คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย )

ต้องขอบพระคุณอาจารย์วินัย และ อาจารย์จินตนา ที่เอื้อเฟื้อความรู้ความคิดและแนวทาง แก่นิสิตที่เรียนวิชาศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยการพาชม สาธิตการจัดการเรียนการสอนศิลปะและวิชาต่างของโรงเรียน ที่ผ่านมานิสิตกลับไปเขียน ไปเล่าความประทับใจในการมาเยี่ยมชมโรงเรียนแห่งนี้เสมอ

By |November 15th, 2011|guest|0 Comments

ดร. อำไพ ตีรณสาร ( ประธานสาขาศิลปศึกษา รักษาการหัวหน้าภาควิชาศิลปะดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย )

ขอแสดงความชื่นชมในสิ่งที่ได้มาพบเห็นและสัมผัสผลรวม สามารถสรุปได้จากรอยยิ้ม ดูความชื่นชมและกระตือรือร้นในทุกชีวิต ในรั้วโรงเรียน ทั้งนักเรียนและครูตลอดจนบุคลากรของโรงเรียน ทั้งนี้น่าจะมาจาก การบริหารแบบทุกคนมีส่วนร่วม และมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ทำให้นักเรียนทุกคนได้ค้นพบตัวเอง และมีโอกาสพัฒนาแต่ละคนจนถึงขีดสูงสุด

By |November 15th, 2011|guest|0 Comments